วันพุธที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2557

ประเภทของของสื่อมวลชนเพื่อศึกษา

สิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา
ความหมายของคำว่า สิ่งพิมพ์ หนังสือทุกประเภท นับตั้งแต่ ที่เป็นวรรณคดี นิตยสาร ไปจนถึงหนังสือพิมพ์ต่างๆนิตยสาร กำหนดออกชัดเจน มีการแบ่งคอลัมชัดเจน บทความ การแสดงความคิดเห็นหนังสือพิมพ์ จำเป็นต้องมีทุกวัน แบ่งตามประเด็นของข่าว ข้อเท็จจริง การรายงาน เหตุการณ์ มีจุดเด่นที่แตกต่าง

อิทธิพลของสิ่งพิมพ์ 
1. มีอิทธิพลเฉพาะหมู่คนอ่านหนังสือออก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นคนที่อาศัยอยู่ในเมือง
2. เป็นสื่อที่มีลักษณะเป็นเอกสารถาวร ผู้อ่านมีโอกาสทบทวนทำความเข้าใจ ได้ตามต้องการ และสามารถถ่ายทอดต่อเนื่องไม่สิ้นสุด ใช้เป็นหลักฐาน
3.สามารถถ่ายทอดความรู้ เหตุการณ์ ประเพณี วัฒนธรรรม จากยุคหนึ่งไปยังอีกยุคหนึ่ง โดยยังคงรักษา ความเที่ยงตรงไว้ได้เหมือนเดิม ตัวอย่างห้องสมุดแห่งชาติ มีการถ่ายไมโครพิมพ์ในหนังสือพิมพ์
4. สร้างประชามติในเรื่องต่างๆได้ดี โดยเฉพาะเรื่องการเมือง
5. ป้อนข้อมูลเฉพาะ เชื่อมไปยังบุคคล เฉพาะกลุ่มได้ เช่น นิตยสาร เฉพาะกลุ่ม

ประโยชน์ของสิ่งพิมพ์
1. เป็นแหล่งค้นคว้า หาความรู้ของผู้เรียน
2. ช่วยสนองความอยากรู้อยากเห็นของผู้เรียน
3. ช่วยปลูกฝังความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

สิ่งพิมพ์ที่ใช้ในระบบโรงเรียน
1. จุลสาร เป็นสิ่งพิมพ์เล่มเล็กๆ มีความหนาไม่เกิน 60 หน้า
2. วารสาร Journal เป็นสิ่งพิมพ์ที่มีกำหนดออกตามมาเชิงวิชาการ
3. หนังสือพิมพ์ Newspaper เป็นสิ่งพิมพ์ที่ออกเป็นฉบับ แบ่งเป็น
3.1. หนังสือพิมพ์ที่ได้ความนิยม Popular Newspaper
3.2. หนังสือพิมพ์ที่มีคุณภาพ Quality Newpaper เน้นคุณภาพเนื้อหา
4. นิตยสาร Magazine แบ่งเป็น
4.1. สำหรับคนทั่วไป
4.2. สำหรับเฉพาะกลุ่ม

วิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา
วิทยุเพื่อการศึกษานั้นสามารถนำมาใช้ได้ในหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น แหล่งเรียนรู้  ที่รายการวิทยุใช้สอนบทเรียนต่างๆ ใช้เป็นอุปกรณ์ในการฝึกอบรม เช่นใช้ในการบันทึกเสียง ใช้เป็นสื่อเพื่อเปิดเพลงที่เป็นเนื้อหาความรู้แก่นักเรียนเพื่อเพิ่มความเข้าใจมากยิ่งขึ้น

คุณค่าของวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา
1. สามารถส่งข่าวสารได้รวดเร็ว
2. สามารถส่งคลื่นไปได้ทุกแห่งทุกหน
3. โน้มน้าวใจให้ผู้ฟัง คล้อยตาม
4. มีอิทธิพลทั้งในทางที่ดีและไม่ดี
5. มีคุณภาพพิเศษทางการศึกษา ใช้แทนครู
6. ใช้พักผ่อนหย่อนใจ

ความสำคัญของวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา
1. ผู้ฟังเกิดพัฒนาการทางด้านภาษา
2. สร้างรสนิยมทางด้านดนตรีและศิลปะ
3. สื่อสารทางเดียว
4. สร้างความรุนแรงได้ (ปัจจุบัน ไม่ได้ใช้แล้ว)
5. สร้างประชามติได้

หลักการใช้วิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา
1. สงเสริมความจงรักภักดี
2. ส่งเสริมความสามามัคคี
3. ตอบโต้และต่อต้านศัตรู
4. แผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทางราชการ
5. สนับสนุนเกี่ยวกับการศึกษา
6. ส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรม
7. ให้ความรู้และความบันเทิง
8. แลกเปลี่ยนข่าวสารกับต่างประเทศ

ลักษณะของรายการวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา
1. รายการส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรม
2. รายการส่งเสริมศีลธรรม จรรยา และประเพณี
3. รายการข่าววิเคราะห์ข่าว
4. รายการส่งเสริมอาชีพ
5. รายการสำหรับผู้นำกลุ่มพิเศษ
6. รายการสำหรับเด็ก
7. รายการเพื่อการเกษตร
8. รายการสำหรับแม่บ้าน
9. รายการเกี่ยวกับกิจกรรมของชุมชนและสาธารณะ
10. รายการส่งเสริมความรู้ทางวิทยาศาสตร์,เทคโนโลยี
11. รายการสารคดีท่องเที่ยว
12. รายการเกี่ยวกับสุขภาพและอนามัย
13. รายการเกี่ยวกับกฏหมายสำหรับประชาชน
14. รายการเกี่ยวกับความเป็นไปของบ้านเมือง


3. โทรทัศน์เพื่อการศึกษา
เป็นสื่อมวลชนที่มีประสิทธิภาพมาก เพราะสามารถส่งได้ทั้ง ภาพนิ่ง  ภาพเคลื่อนไหว  และเสียง  ซึ่งโทรทัศน์เป็นสื่อการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนสามารถเรียนอยู่ในห้องเรียนก็ได้หรือว่าจะเรียนอยู่ที่บ้านก็ได้   โทรทัศน์เป็นสื่อที่ทำหน้าที่ได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสื่อการเรียนการสอนแทนครูเมื่อขาดแคลนครูหรือเป็นการช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้แก่ครูผู้สอนตลอดจนเป็นการนำแรงกระตุ้นจากภายนอกวิชาซึ่งทำให้เกิดความตื่นเต้น และเกิดแรงจูงใจในการเรียน

คุณค่าของโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
1.เข้าถึงผู้เรียนจำนวนมากๆ ในเวลาเดียวกัน
2. เป็นการผสมผสาน ส่วนที่ดีที่สุดของวิทยุและภาพยนต์เข้าด้วยกัน
3. เอาชนะอุปสรรคของการเรียนรู้ได้ เรียนรู้ผ่านเสียง ภาพ ได้
4. สร้างทัศนคติให้กับผู้ดู
5. ให้ข่าวสารสำคัญโดยผู้รับ ไม่จำเป็นต้องมีความสามารถทางภาษาสูง
6. ได้เรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญ
7. ให้แนวคิด ที่เป็นแบบอย่างที่ดีในสังคม
8. มีรวดเร็ว
9. ฟังสื่ออื่นมาประกอบการใช้ได้

บทบาทของโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
1. ช่วยกระจายความรู้
2. ช่วยในการเป็นพลเมือง
3. ช่วยให้ประชาชนกินดีอยู่ดี

ประเภทของรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
1. รายการที่จัดเพื่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
2. รายการที่จัดเพื่อผู้ชมทั่วไป
2.1 รายการที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการเกษตร
2.2 รายการกีฬา
2.3 รายการที่เกี่ยวกับแม่บ้าน
2.4 รายการเพื่อสุขภาพและอนามัย
2.5 รายการเกี่ยวกับศิลปะและวัฒนธรรม
2.6 รายการความรู้เกี่ยวกับภาษา
2.7 รายการความรู้เกี่ยวกับการประดิษฐ์
2.8 รายการข่าว วิเคราะห์ข่าว

4. ภาพยนตร์เพื่อการศึกษา
เป็นการถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียนสาระความรู้ต่างๆผ่านเรื่องราว ให้ผู้ชมได้รับรู้ซึ่งสามารถเร้าความสนใจจากผู้ชมได้ดีเช่นเดียวกัน

วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2556

หน้าที่ของสื่อสารมวลชน


1. แนวคิดของลาสเวลล์และไรท์ แฮโรลด์ ดี ลาสเวลล์ (Harold D.Lasswell)
1. สอดส่องระวังระไวเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ( Surveillance )
2. ประสานส่วนต่างๆ ในสังคม (Correlation)
3. ถ่ายทอดมรดกทางสังคม ( Transmission)
ชาร์ลส์ อาร์ ไรท์ (Charles R.Wright) ได้เพิ่มเติม
4. การให้ความบันเทิง ( Entertainment )
สรุปได้ว่า หน้าที่ในการให้ข่าวสาร หน้าที่ในการแสดงความคิดเห็นหรือการชักจูงใจ หน้าที่ในการให้การศึกษา หน้าที่ในการให้ความบันเทิง

2. แนวคิดของคณะกรรมาธิการฯ ศึกษาปัญหาการสื่อสาร , ยูเนสโก
2.1 หน้าที่ต่อบุคคล
2.1.1 ข่าวสาร ( Information)
2.1.2 สังคมประกิต ( Socialization)
2.1.3 การจูงใจ ( Motivation)
2.1.4 การโต้แย้งและแสดงความคิดเห็น ( Debate and discussion)
2.1.5 การศึกษา ( Education)
2.1.6 การส่งเสริมวัฒนธรรม ( Cultural promotion)
2.1.7 บันเทิง ( Entertainment)
2.1.8 การทำให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ( Integration)
.2 หน้าที่ต่อสังคม
2.2.1 เป็นความจำเป็นต่อสังคม ( A Social Need)
2.2.2 เป็นเครื่องมือทางการเมือง ( A Political Instrument)
2.2.3 เป็นพลังทางเศรษฐกิจ ( An Economic Force)
2.2.4 ศักยภาพทางการศึกษา ( An Educational Potential)
ข่าวสารและสื่อมวลชนมีอิทธิพลต่อการพัฒนาสติปัญญา สร้างบุคลิกภาพใหม่ สร้างมาตรฐานทางปัญญา ทำหน้าที่เป็นโรงเรียน ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นแรงกระตุ้นวัฒนธรรม

3. แนวคิดของเดนิส แมคเควล
3.1 หน้าที่ของสื่อมวลชนตามความคิดของสังคม 5 ประการ
3.1.1 หน้าที่ในการให้ข่าวสาร ( Information)
ก . การให้ข่าวสารเกี่ยวกับเหตุการณ์และสถานการณ์ในสังคมและในโลก
ข . แสดงถึงความสัมพันธ์ของอำนาจต่างๆ ในสังคม
ค . ช่วยทำให้นวกรรม การปรับตัวและความก้าวหน้าเป็นไปได้โดยสะดวก
3.1.2 หน้าที่ในการประสาน ( Correlation)
ก . อธิบาย ตีความ และวิพากษ์วิจารณ์ เหตุการณ์และข่าวสารที่เกิดขึ้น
ข . ให้การสนับสนุนผู้ที่อยู่ในอำนาจที่ถูกต้องและบรรทัดฐานที่เป็นที่ยอมรับกันของสังคม
ค . ทำให้เกิดสังคมประกิต คือการเผยแพร่ความรู้ความคิดให้แพร่หลายในสังคม
ง . ประสานกิจกรรมต่างๆ ของสังคม
จ . สร้างความสอดคล้องกันในสังคม
ฉ . จัดลำดับความสำคัญของสถานภาพในสังคม
3.1.3 หน้าที่ในการสร้างความต่อเนื่อง ( Continuity)
ก . การแสดงให้เป็นถึงวัฒนธรรมหลักและวัฒนธรรมย่อย และการพัฒนาวัฒนธรรมใหม่ๆ
ข . ดำรงและรักษาไว้ซึ่งค่านิยมร่วมของสังคม
3.1.4 หน้าที่ด้านความบันเทิง ( Entertainment)
ก . ให้ความขบขัน ความเพลิดเพลิน และวิธีการพักผ่อนหย่อนใจ
ข . ลดความเครียดของสังคม
3.1.5 หน้าที่ในการระดมความร่วมมือ ( Mobilization) การรณรงค์สังคมด้านการเมือง สงคราม เศรษฐกิจ การทำงาน และศาสนา
3.2 หน้าที่ของสื่อมวลชนตามความคิดของผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเผยแพร่
3. 2 .1 หน้าที่ในการให้ข่าวสาร ( Information)
ก . เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายและกิจกรรมขององค์กร
ข . ให้ข่าวสารเกี่ยวกับเหตุการณ์และสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง
ค . จัดลำดับก่อนหลังตามผลประโยชน์ของผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเผยแพร่
ง . ให้ข่าวสารและดึงดูดความสนใจและประชาชนในกิจการการโฆษณา
จ . ให้การศึกษาโดยตรง และการรณรงค์ด้านข่าวสารแก่ประชาชน
3. 2 .2 หน้าที่ในการตีความ ( Interpretation)
ก . ตีความข่าวสารและเหตุการณ์ตามวัตถุประสงค์ของนักเผยแพร่
ข . สร้างความคิดเห็น ทำการประชาสัมพันธ์ และสร้างภาพพจน์สนับสนุนองค์การ
ค . วิพากษ์วิจารณ์คู่แข่งขององค์การของนักเผยแพร่
3. 2 .3 หน้าที่ในการแสดงออก ( Expression)
ก . ให้การสนับสนุนความเชื่อ ค่านิยม อุดมการณ์ หลักการขององค์การ
ข . ช่วยพัฒนาสำนึกในการเป็นสมาชิกองค์การ เช่น พรรคการเมือง ชนชั้นและกลุ่ม
3. 2 .4 หน้าที่ในการระดมความร่วมมือ ( Mobilization)
ก . กระตุ้นความสนใจ ความเกี่ยวข้อง และความสนับสนุนของประชาชนต่อองค์การ
ข . จัดและแนะนำกิจกรรมแก่สมาชิกขององค์การหรือผู้ตาม
ค . พยายามจูงใจและเปลี่ยนพฤติกรรมของคน การโฆษณาชวนเชื่อ
ง . การหาทุน
จ . มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคโดยการโฆษณาสินค้า
3. 3 หน้าที่ของสื่อมวลชนตามความคิดของสื่อมวลชน
3. 3 .1 หน้าที่ในการให้ข่าวสาร ( Information)
ก . รวบรวมข่าวสารที่เป็นประโยชน์และเกี่ยวข้องกับมวลชนผู้รับสาร
ข . เลือก จัดทำ และเผยแพร่ข่าวสารเหล่านี้ ค . ให้การศึกษาแก่ประชาชนทั่วไป
3. 3 .2 หน้าที่ในการตีความ ( Interpretation)
ก . แสดงความคิดเห็น
ข . ให้ข่าวสารเบื้องหลังและวิพากษ์วิจารณ์เหตุการณ์
ค . เป็นผู้วิจารณ์หรือผู้ตรวจสอบผู้ที่อยู่ในอำนาจ
ง . แสดงหรือสะท้อนประชามติ
จ . เป็นเวทีแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกัน
3. 3 .3 หน้าที่ในการแสดงออกและความต่อเนื่องทางสังคม
ก . แสดง สะท้อนวัฒนธรรมและค่านิยม ในระดับชาติ ภูมิภาค
ข . สนับสนุนวัฒนธรรมและค่านิยมของกลุ่มย่อยภายในสังคม
3.3.4 หน้าที่ในด้านความบันเทิง ( Entertainment)
3. 3 .5 หน้าที่ในการระดมความร่วมมือ ( Mobilization)
ก . เป็นสื่อในการโฆษณาหรือการโฆษณาชวนเชื่อ
ข . รณรงค์อย่างจริงจังเพ่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ค . เพิ่มปริมาณและจัดสื่อมวลชนให้เหมาะกับการใช้ของมวลชนผู้รับสาร
3.4 หน้าที่ของสื่อมวลชนตามความคิดของมวลชนผู้รับสาร
3.4.1 หน้าที่ในการให้ข่าวสาร ( Information)
ก . ค้นหาเหตุการณ์ต่างๆ และสถานการณ์ต่างๆ ในสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว สังคม และโลก
ข . ให้คำแนะนำในการปฏิบัติในการแสดงความคิดเห็น และการตัดสินใจ
ค . สนองตอบความอยากรู้อยากเห็นและความสนใจทั่วไป
ง . ให้การเรียนรู้และการศึกษาด้วยตนเอง
จ . ให้ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย
3.4.2 หน้าที่ในการสร้างเอกลักษณ์ของบุคคล ( Personal identity)
ก . สนับสนุนค่านิยมส่วนตัวของบุคคล
ข . ให้รูปแบบต่างๆ ของการแสดงพฤติกรรม
ค . ให้แบบอย่างของบุคคลที่มีคุณค่า
ง . ทำให้บุคคลเข้าใจตนเองมากขึ้น
3.4.3 หน้าที่ในการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและการมีกิริยาสัมพันธ์ทางสังคม
ก . ทำให้สามารถเข้าใจสถานการณ์และความรู้สึกของคนอื่น ก่อให้เกิดความเข้าอกเข้าใจทางสังคม
ข . สนับสนุนให้เข้ากับคนอื่นได้และมีสำนึกของการเป็นสมาชิกของกลุ่ม
ค . เป็นพื้นฐานสำหรับการสนทนาและมีกิริยาสัมพันธ์ทางสังคม
ง . เป็นเพื่อนแทนเพื่อนในชีวิตจริง
จ . ช่วยให้บรรลุบทบาททางสังคม
ฉ . ทำให้มีความสัมพันธ์ที่ดีกับครอบครัว เพื่อนฝูง และสังคม
3.4.4 หน้าที่ด้านความบันเทิง ( Entertainment)
ก . ทำให้หลีกหนีปลีกตัวออกจากปัญหาต่างๆ
ข . ทำให้ได้รับการพักผ่อนหย่อนใจ
ค . ทำให้ได้รับความสุขกับวัฒนธรรมและความสุนทรีย์
ง . ช่วยในการฆ่าเวลา
จ . ทำให้ผ่อนคลายอารมณ์
ฉ . ช่วยกระตุ้นความต้องการทางเพศ



ที่มา : www.slideshare.net/cocosakkayaset/1-8508993

องค์ประกอบการสื่อสารมวลชน


การสื่อสารมวลชน เป็นกระบวนการสื่อสารที่มีความซับซ้อน แตกต่างไปจากกระบวน การของการสื่อสารระหว่างบุคคล และในสื่อมวลชนแต่ละชนิดก็มีลักษณะของสื่อ เนื้อหาสาระ และรูปแบบการดำเนินงานที่แตกต่างกัน องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกันของระบบการสื่อสารมวลชน โดยทั่วไป ได้แก่

1. องค์กรสื่อสารมวลชน
2. นักสื่อสารมวลชน
3. ข่าวสาร
4. สื่อ
5. ผู้รับสาร
6. ผลจากสื่อมวลชน
7. สถาบันควบคุมทางสังคม

1. องค์กรสื่อสารมวลชน คือหน่วยงานที่มีบทบาทหน้าที่เป็นผู้ส่งสาร (Source) ไปสู่มวลชน มีลักษณะเป็นองค์กรที่ซับซ้อน มีการจัดโครงสร้างที่เป็นระเบียบแบบแผนอย่างดี มีการลงทุนสูงในการผลิตข่าวสาร มีรายได้จากสปอนเซอร์ ได้แก่
1.1 องค์กรวิทยุกระจายเสียง องค์กรขนาดใหญ่ที่มีเครือข่ายการส่งกระจายเสียงไปทั่วโลก เช่น สถานีวิทยุ BBC (British Broadcasting Coporation ) สถานีวิทยุเสียงอเมริกา (Voice Of America )
1.2 องค์กรหนังสือพิมพ์ ส่วนใหญ่ดำเนินกิจการโดยภาคเอกชน หนังสือพิมพ์ขนาดใหญ่ทั่วไปมีกิจการแบบครบวงจร
1.3 องค์กรโทรทัศน์ ไทยมีสถานีโทรทัศน์ที่รับชมฟรี (Free TV) 6 สถานี ได้แก่ ช่อง 3 ช่อง 5 ช่อง 7 ช่อง 9 ช่อง 11 ITV ( ช่อง 26) และมีสถานีเครือข่ายของกรมประชาสัมพันธ์ กระจายทั่วทุกภูมิภาค โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมหรือเคเบิลทีวี รับชมโดยต้องจ่ายเงิน เช่น U BC องค์กรสื่อมวลชนมีสถานที่ทำการ นักสื่อสารมวลชน เครื่องมือการผลิต และส่งข่าวสาร ทำหน้าที่แสวงหาข่าวสาร รวบรวม คัดเลือก ผลิต และส่งกระจาย ข่าวสาร องค์กรสื่อสารมวลชน จึงเป็นทั้งผู้รับข่าวสาร และผู้ส่งข่าวสารหมุนเวียนอยู่ตลอดไป ซึ่งข่าวสารต่างๆ เหล่านั้น ส่วนหนึ่งได้รับมาจากแหล่งข่าวทั้งในประเทศและต่างประเทศ
แหล่งข่าวที่สำคัญ เช่น สำนักข่าวไทย (Thai News Agency -T.N.A ) AP (Assoociated Press ) ของอเมริกา AFP (Agence France Press) ของฝรั่งเศส Reuters ของประเทศอังกฤษ TASS (Telegrafnoie Agenstvo Sovetskavo Soiuza ของรัสเซีย UPI ( United Press International ) ของอเมริกา CNN (Cable News Network) Visnews (Vision News ) เป็นบริษัทระหว่างชาติ Hsin Hua หรือ New Chaina ของจีน

2. นักสื่อสารมวลชน คือบุคลากรภายในองค์กรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องโดยตรงกับข่าวสารต่างๆ เช่น ผู้สื่อข่าว นักเขียน บรรณาธิการ ผู้แปล โฆษณานักจัดรายการ พิธีกร ฯลฯ รวมเรียกว่า เป็นกลุ่มของผู้ส่งสาร ซึ่งเป็นกลุ่มของผู้ที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน ร่วมกันส่งข่าวสาร ในฐานะที่เป็นสมาชิกขององค์กรสื่อมวลชน มีคุณสมบัติ ทักษะในการสื่อสาร เจตคติที่ดีใน 3 ด้าน ระดับความรู้เพียงพอ ความเข้าใจในบุคคล ระบบสังคม และวัฒนธรรม บุคลิกภาพ

องค์ประกอบการสื่อสารมวลชน นักสื่อสารมวลชนมีคุณสมบัติ
1. ทักษะในการสื่อสาร ( การฟัง การพูด การอ่าน การเขียน และการคิดหรือการใช้เหตุผล )
2. เจตคติที่ดีใน 3 ด้าน ( ต่อตนเอง ต่อข่าวสาร ต่อผู้รับข่าวสาร )
3. ระดับความรู้เพียงพอ
4. ความเข้าใจในบุคคล ระบบสังคม และวัฒนธรรม 5. บุคลิกภาพ

3. ข่าวสาร หมายถึง เรื่องราว เนื้อหา สาระ หรือสาร ( Message) ที่ถูกถ่ายทอดผ่านทางสื่อมวลชน ( Mass Media) สารนี้ มีลักษณะเป็นสาธารณะ (Public) เป็นประโยชน์ต่อผู้รับสารในวงกว้าง สารเป็นที่เข้าใจและจะต้องได้รับการออกแบบให้มีคุณภาพดี ถูกต้อง ชัดเจน ปกติเป็นการสื่อสารแบบทางเดียว ผู้รับไม่มีโอกาสตอบโต้ หรือซักถาม ความผิดพลาดเพียงเล็กน้อยอาจส่งผลกระทบได้
องค์ประกอบการสื่อสารมวลชน ประเภทของข่าวสาร จำแนกตามบทบาทหน้าที่สื่อสารมวลชนได้ดังนี้
3.1 รายงานเหตุการณ์ หรือ ข่าว
3.2 บทวิเคราะห์ แสดงความคิดเห็น เช่น บทความ บทบรรณาธิการ
3.3 สาระความรู้ทั่วไป และความรู้ทางวิชาการเฉพาะสาขา เช่น บทความวิชาการ
3.4 สังคมและบันเทิง เช่น การ์ตูน สารคดี ละคร ภาพยนตร์ เกมโชว์ เพลง
3.5 โฆษณาประชาสัมพันธ์ เช่น ประกาศแจ้งความ ประกาศของทางราชการ โฆษณาสินค้า ข่าวธุรกิจ

4. สื่อ หมายถึง หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร หนังสือ ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ ซึ่งมีคุณสมบัติทางกายภาพที่สำคัญ คือ
4.1 ความสามารถในการเก็บบันทึกเหตุการณ์ ความรู้ ความคิด ไว้ในรูปแบบที่สัมผัสได้ เช่น รูปภาพ เสียง การเคลื่อนไหว สัญลักษณ์
4.2 ดัดแปลงปรุงแต่งให้ผู้รับเข้าใจได้ง่ายขึ้น หรือน่าสนใจ เช่น การตัดต่อภาพ เสียงประกอบ
4.3 การทำสำเนา ขยาย จำหน่ายจ่ายแจก ส่งกระจายข่าวสารจำนวนมาก ไปยังผู้รับจำนวนมากพร้อมๆ กัน

5. ผู้รับสาร มวลชนหรือกลุ่มคนจำนวนมาก หลากหลาย ไม่รู้จักกัน จำแนกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ และความสนใจได้ดังนี้
5.1 จำแนกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์
5.1.1 อายุ
5.1.2 เพศ
5.1.3 การศึกษา
5.1.4 ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม
5.1.5 ถิ่นที่อยู่
5.2 จำแนกตามกลุ่มเป้าหมาย จำแนกเป็น 2 ประเภท คือ
5.2.1 ผู้รับทั่วไป (General Audience) เป็นผู้รับที่แต่ละคนมีลักษณะแตกต่างกันมาก ทั้งทางประชากรศาสตร์ ความสนใจ ความเชื่อ ค่านิยม ฯลฯ คาดคะเนจำนวนไม่ได้ การเลือกรับข่าวสารไม่แน่นอน พฤติกรรมการรับสารของผู้รับสาร แบ่งเป็น 4 ประเภท - บริโภคสื่อมวลชนทั้งหมด ทุกสื่อ - เลือกบริโภคข่าวสารจากสื่อใดสื่อหนึ่ง - เลือกบริโภคข่าวสารเฉพาะเรื่องที่ตนสนใจจากทุกสื่อ - พวกหลีกเลี่ยงการเปิดรับสื่อ
5.2.2 ผู้รับที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย (Target Audience) เป็นกลุ่มผู้รับที่มีจำนวนหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มมีลักษณะบางอย่าง หรือหลายอย่างที่เหมือนกัน เช่น เหมือนกันโดยลักษณะทางประชากรศาสตร์ หรือมีความสนใจในข่าวสารร่วมกัน การที่มีความสนใจเหมือนกัน แม้จะอยู่อย่างกระจัดกระจายไม่รู้จักกัน แต่บุคคลเหล่านี้ก็เป็นสมาชิกของกลุ่มผู้รับข่าวสารประเภทเดียวกัน เช่น กลุ่มผู้สนใจข่าวการเมือง กลุ่มผู้อ่านหนังสือพิมพ์มติชน เป็นต้น การแสดงความคิดเห็น หรือปฏิกิริยาตอบสนองของผู้รับข่าวสารกลุ่มนี้ จะได้รับการยอมรับพิจารณาจากองค์กรสื่อมวลชน และสาธารณชน

6. ผลจากสื่อมวลชน หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลังการได้รับข่าวสารจากสื่อมวลชน ทั้งผลต่อบุคคล และสังคม ผลระยะสั้นและระยะยาว ผลทางตรงและผลทางอ้อม ซึ่งผลดังกล่าวอาจเกิดขึ้นโดยเจตนา หรือไม่เจตนาของสื่อมวลชนผู้ส่งข่าวสารก็ได้ ผลกระทบต่อบุคคล ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงระดับความรู้ ความเชื่อ เจตคติ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสังคมด้วย
1. ผลระยะสั้น เป็นการเปลี่ยนแปลงความรู้สึก และอารมณ์ เป็นผลที่เกิดขึ้นขณะที่ได้รับ หรือภายหลังที่ได้รับข่าวสารไประยะหนึ่ง เช่น เกิดความพอใจ ไม่พอใจ เกิดความเชื่อ ยอมรับความคิด เป็นต้น
2. ผลระยะยาว เป็นการเปลี่ยนแปลงความคิด ค่านิยม มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ซึ่งเป็นสิ่งที่ส่งผลสังคม การศึกษา และการพัฒนาสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้รับข่าวสาร เช่น คนไปเลือกตั้งเพราะฟังข่าวโทรทัศน์

7. สถาบันควบคุมทางสังคม
7.1 รัฐบาล ซึ่งมีภาระหน้าที่ในการจัดระเบียบของสังคมต้องควบคุมดูแลสื่อมวลชน โดยการออกระเบียบกฎหมายควบคุมเกี่ยวกับ คุณสมบัติ เงื่อนไขวิธีการดำเนินกิจการ ของสื่อมวลชนแต่ละประเภท
7.2 ประชาชน สื่อมวลชนที่ประชาชนให้การยอมรับ หรือติดตาม ทำให้อยู่ได้ ประชาชนเป็นพลังเงียบที่มีอำนาจต่อรองสูง
7.3 ธุรกิจโฆษณา สื่อมวลชนที่มีผู้ซื้อเวลาโฆษณามาก ย่อมมีรายได้สูงและสามารถพัฒนาตนเองได้

ที่มา : www.slideshare.net/cocosakkayaset/1-8508993

ความสำคัญการสื่อสารมวลชน

ปรมะ สตะเวทิน (2541)

1. ความสำคัญต่อกระบวนการสังม สื่อสารมวลชนดำรงรักษาสังคม เปลี่ยนแปลงสังคม และเป็นผู้พัฒนาสังคม เสนอข่าวสาร และความคิดเห็นที่ส่งเสริมสนับสนุนระบบสถาบันและกลไกต่างๆ ของสังคมให้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยดี สนับสนุนสิ่งที่ดี ขุดคุ้ยความไม่ดีในสังคม เสนอแนะแนวทางแก้ไขที่เป็นประโยชน์ ปัญหาสื่อมวลชนเสนอได้รับความสนใจและการแก้ไขจากสังคม เป็นการสร้างและสะท้อนประชามติ สื่อมวลชนนำมาใช้ในการพัฒนาด้านต่างๆ

 2. ความสำคัญต่อข่าวสาร เราใช้ข่าวสารในการสนทนา เป็นข้อมูลวางแผน ประกอบการตัดสินใจ เทคโนโลยีใหม่ทำให้การสื่อสารมวลชนกลายเป็นการสื่อสารโลก (global communication) ทำให้สังคมและโลกแคบลง เช่น - บริการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมสามารถเผยแพร่ข่าวสารไปทั่วโลก อย่าง CNN (Cable News Network) MTV (The music channel) - หนังสือพิมพ์ที่พิมพ์และจำหน่ายทั่วประเทศ ทั่วโลก - อินเทอร์เน็ต

3. ความสำคัญต่อวัฒนธรรม เป็นเครื่องมือถ่ายทอดเผยแพร่และรักษาวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีของภูมิภาคต่างๆ ในประเทศ และของประเทศต่างๆ ทำให้คนเข้าใจในวัฒนธรรมของกันและกัน ลดความขัดแย้ง ก่อให้เกิดการยอมรับวัฒนธรรมที่ดีงาม การสื่อสารมวลชนช่วยรักษา ส่งเสริมวัฒนธรรมที่ดีงามของตนและนำวัฒนธรรมใหม่ที่ดีงามเข้ามาสู่สังคม หรือทำลายวัฒนธรรมเดิมที่ดีงามและนำวัฒนธรรมใหม่ที่เป็นอันตรายมาสู่สังคม การเลียนแบบวัฒนธรรมต่างประเทศ

 4. ความสำคัญต่อความเป็นสากล สื่อสารมวลชนทำให้รับรู้ข่าวสารได้ทั่วโลก - สารกลายเป็นสารสากล ได้แก่ สารคดี ความคิดเห็น ความบันเทิง กีฬา - สื่อมวลชนกลายเป็นสื่อสากลที่สามารถนำสารไปได้ทั่วโลก โดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ - ผู้รับสารเป็นผู้รับสารทั้งโลก หรือมวลชนโลก (global mass) ความเป็นสากล ( globalization) ของสิ่งต่างๆ ในโลกเกิดได้เพราะพลังของการสื่อสารมวลชน และเทคโนโลยีทางการสื่อสาร

5. ความสำคัญต่อธุรกิจและอุตสาหกรรม การโฆษณา (Advertising) เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับสินค้า การประชาสัมพันธ์ (Public Relations) เผยแพร่และสร้างภาพ (image) ที่ดีของสินค้า และบริษัทผู้ผลิต เพื่อชักจูงใจให้ประชาชนบริโภคสินค้าของตน การสื่อสารมวลชนทำให้ผู้มีชื่อเสียงมีค่าทางการค้า ได้แก่ ดารา นักกีฬา นักการเมือง นักธุรกิจ ตัวการ์ตูน สถานที่ ฯลฯ

 6. ความสำคัญต่อการเมืองระหว่างประเทศ สื่อมวลชนเป็นเครื่องมือในการโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 สงครามเวียดนาม สงครามอ่าวเปอร์เชีย สื่อสารมวลชนช่วยปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างตะวันออก ตะวันตกสื่อมวลชนเป็นตัวกระตุ้นนโยบายการเปิดประเทศ (openness) การเปลี่ยนแปลงสหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา สถานีวิทยุเสียงอเมริกา (VOA : Voice of America) อังกฤษ สถานีวิทยุบีบีซี (BBC : British Broadcasting Corporation)

บทความพิเศษ มติชนสุดสัปดาห์ 19 พ . ค . 49 " หมากเตะ " ลาวตะลึง - ตึ่ง ตึง แกรมมี่ " มุขแป้ก " เก้ง " ไปไม่ถึง " บอลโลก " หนังฟอร์มแรงที่บริษัท จีทีเอช ธุรกิจผลิตภาพยนตร์ในค่ายจีเอ็มเอ็มแกรมมี่ ผลิตออกมาต้อนรับฟุตบอลโลกต้องล้มไม่เป็นท่า ... ประเด็นที่น่าคิดคือ ตัวเลขความสูญเสีย 60 ล้านบาทเป็นสัดส่วนที่น้อยนิดเมื่อเทียบกับมูลค่าการค้าระหว่างไทย - สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในแต่ละปีที่ตัวเลขล่าสุดในปี 2548 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 40,107.0 ล้านบาท และตัวเลขทางการค้าระหว่าง 2 ประเทศก็ยังเทียบกันไม่ได้กับคุณค่าของความสัมพันธ์ 2 ชาติที่อยู่ร่วมแผ่นดินสุวรรณภูมิมายาวนานในฐานะ " บ้านพี่เมืองน้อง " มีคนไทยจำนวนไม่น้อยแสดงความเห็นอกเห็นใจต่อ " ผู้ถูกกระทำ " อย่างเปิดเผยใน pantip . com



พันธกิจของสื่อสารมวลชน

อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ (2541) ได้เสนอความสำคัญของระบบสื่อสารมวลชน จำแนกได้ตามพันธกิจของสื่อที่มีต่อสังคมดังนี้


1. พันธกิจทางเศรษฐกิจในสังคมทุนนิยมอุตสาหกรรม ธุรกิจสื่อสารมวลชนในไทยมีขนาดใหญ่ มีการจ้างงาน มีการผลิตสินค้าและบริการด้านสื่อหลายประเภท รวมทั้งยังทำงานประสานกับธุรกิจอื่นๆ เช่น ธุรกิจบันเทิง ธุรกิจโฆษณา ธุรกิจข่าวสาร สื่อสารมวลชนเป็นสถาบันสังคมหนึ่งที่มีบทบาทต่อสถาบันทางสังคมอื่นๆ และถูกกำกับด้วยกฎเกณฑ์และค่านิยมทางสังคม

2. พันธกิจทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย สื่อสารมวลชนเป็นเครื่องมือควบคุมสังคม การบริหารจัดการ หรือการสร้างสรรค์สังคม เป็นแหล่งอำนาจทางการเมือง เป็นเครื่องทดแทนอาวุธความรุนแรง มีความสำคัญต่อการพัฒนาประชาธิปไตย

3. เป็นเวทีความคิดเห็นสาธารณะ สื่อมวลชนเป็นเวทีสาธารณะแสดงความคิดเห็นที่หลากหลาย เป็นเวทีที่ก่อให้เกิดการตัดสินใจเกี่ยวกับกิจกรรมสาธารณะและสังคม ข้อขัดแย้งต่างๆ จะถูกนำเสนอผ่านเวทีสื่อสารมวลชนทั้งเรื่องระดับชุมชน ระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ

4. เป็นสื่อกลางของงานศิลปวัฒนธรรม เป็นสื่อกลางทางศิลปวัฒนธรรม เป็นแหล่งพัฒนาและสร้างสรรค์ศิลปะและระบบสัญลักษณ์ใหม่ๆ ทางวัฒนธรรม สื่อมวลชนเป็นผู้นำแฟชั่น ค่านิยม วิถีชีวิตและรสนิยมทางศิลปวัฒนธรรม 

5. เป็นผู้กำเนิดค่านิยม สร้างภาพความเป็นจริงทางสังคม สื่อมวลชนเป็นผู้กำหนดความหมาย และให้คุณค่าแก่เรื่องราว หรือความเป็นจริงทางสังคม เป็นแหล่งอ้างอิงของค่านิยมและบรรทัดฐานทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นการเสนอข่าวสารหรือความบันเทิง ชี้นำหรือประเมินค่าเรื่องราวต่างๆ ผสมเข้าไปในเนื้อหาสาระจนแยกไม่ออก

วันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บทบาทสื่อสารมวลชน

ปรมะ สตะเวทิน

1. บทบาทของผู้แจ้งข่าว (Messenger)
2. บทบาทของสุนัขเฝ้าบ้าน (Watchdog)
3. บทบาทของตัวกลาง ( Intermediary)
3.1 การเป็นตัวกลางระหว่างแหล่งข่าวกับมวลชนผู้รับข่าว
3.2 การเป็นตัวกลางระหว่างแหล่งข่าวกับแหล่งข่าว
4. บทบาทของตัวเชื่อม (Relay)
5. บทบาทของผู้เฝ้าประตู (Gatekeeper)


ที่มา : www.slideshare.net/cocosakkayaset/1-8508993

วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ความหมายของสื่อสารมวลชน


ความหมาย

นิเทศศาสตร์ = Communication Arts
การสื่อสาร = Communication
การสื่อสารมวลชน = Mass Communication
สื่อมวลชน = Mess Media



นิเทศศาสตร์ Communication Arts = วิชาที่ว่าด้วยเรื่องการสื่อสาร
การสื่อสาร Communication = กระบวนการถ่ายทอดข่าวสารของมนุษย์
การสื่อสารมวลชน Mass Communication = การสื่อสารกับคนจำนวนมาก ในเวลาใกล้เคียงกัน โดยอาศัยสื่อมวลชน
สื่อมวลชน Mess Media = ช่องทางการสื่อสาร ได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ฯลฯ


ความหมายการสื่อสารมวลชน


มอริส จาโนวิทซ์ (Morris Janowitz) “ การสื่อสารมวลชนประกอบด้วยสถาบันและเทคนิค ซึ่งกลุ่มคนที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยี ( หนังสือพิมพ์ วิทยุ ภาพยนตร์ ฯลฯ ) ส่งเนื้อหาที่เป็นสัญญลักษณ์ (symbolic content) ไปสู่ผู้รับสารที่มีขนาดใหญ่ มีความแตกต่างกัน และอยู่กันอย่างกระจัดกระจาย

ชาร์ลส์ อาร์ ไรท์ (Charies R. Wright) “ การสื่อสารมวลชนคือ การสื่อสารที่มุ่งไปสู่ผู้รับสารจำนวนมาก ซึ่งมีความแตกต่างกัน และไม่เป็นที่รู้จักของผู้ส่งสาร สารถูกส่งไปยังประชาชนทั่วไป เพื่อให้ถึงประชาชนผู้รับสารได้รวดเร็วในเวลาเดียวกัน และสารนั้นมีลักษณะที่ยั่งยืน โดยอาศัยสื่อมวลชนเป็นสื่อ ผู้ส่งสารมักจะเป็นหรือดำเนินกิจการภายใต้องค์การที่สลับซับซ้อน ซึ่งมีค่าใช้จ่ายมหาศาล

ไมเคิล เบอร์กูน (Michael Burgoon) “ การสื่อสารมวลชนเป็นการสื่อสารที่ไม่เป็นส่วนตัว (impersonal) และโดยอ้อม (indirect) ที่มุ่งไปสู่คนจำนวนมาก จอห์น อาร์ บิทเนอร์ (John R. Bittner) “ การสื่อสารมวลชนคือ การที่สารถูกสื่อสารผ่านสื่อมวลชนไปยังคนจำนวนมาก”

วอเรน เคอกี (Warren K. Agee) และคณะ “การสื่อสารมวลชนคือ กระบวนการของการส่งข่าวสาร (information) ความคิด (idea) และทัศนคติ (attitudes) ไปสู่ผู้รับสารจำนวนมากที่มีความแตกต่างกันโดยการใช้สื่อที่ถูกพัฒนาเพื่อการนี้

ปรมะ สตะเวทิน (2541) “ การสื่อสารมวลชนเป็นกระบวนการของการสื่อสารไปยังคนจำนวนมากในเวลาเดียวกันหรือในเวลาที่ใกล้เคียงกันโดยอาศัยสื่อมวลชนเป็นสื่อ”

อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ (2547) กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์เสนอว่า “การสื่อสาร” (communication) มารวมกับคำว่า “มวลชน” (mass) หมายถึง คนจำนวนมากๆ

คณะกรรมการบัญญัติศัพท์ของราชบัณฑิตยสถานได้รับเอาคำว่า “สื่อสารมวลชน” มาใช้กับคำว่า “ mass communication” หมายถึง สื่อสารไปสู่มวลชน

กระทรวงศึกษาธิการได้บัญญัติศัพท์คำว่า “สื่อมวลชน” ตรงกับคำว่า “ mass media” ย่อจาก “ medium/ media of communication” “ สื่อมวลชน” หมายถึง ช่องทางการสื่อสารประเภทต่างๆ เช่น สื่อหนังสือพิมพ์ นิตยสาร ภาพยนตร์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์

พจนานุกรมการสื่อสารมวลชน “การสื่อสารมวลชนเป็นแบบหนึ่งของการสื่อสาร สามารถกระจายเรื่องราวความรู้ เปิดเผยไปสู่คนส่วนใหญ่ ซึ่งมีลักษณะไม่เหมือนกัน และไปถึงผู้รับพร้อมกัน มีบทบาทสำคัญในการกำหนดแนวโน้มทางวัฒนธรรมของมวลชน”

ปรมะ สตะเวทิน (2526 ) การสื่อสารมวลชน (Mass Communication) “ เป็นกระบวนการหรือวิธีของการสื่อสาร ที่รวมองค์ประกอบของการสื่อสารทั้งหมด ” สื่อมวลชน (Mass Media ) หมายถึง “ สื่อหรือช่องทางที่ใช้ในการสื่อสารมวลชน อันได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร ฯลฯ ซึ่งเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งของการสื่อสาร ” S M C R


ที่มา : www.slideshare.net/cocosakkayaset/1-8508993