วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ความสำคัญการสื่อสารมวลชน

ปรมะ สตะเวทิน (2541)

1. ความสำคัญต่อกระบวนการสังม สื่อสารมวลชนดำรงรักษาสังคม เปลี่ยนแปลงสังคม และเป็นผู้พัฒนาสังคม เสนอข่าวสาร และความคิดเห็นที่ส่งเสริมสนับสนุนระบบสถาบันและกลไกต่างๆ ของสังคมให้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยดี สนับสนุนสิ่งที่ดี ขุดคุ้ยความไม่ดีในสังคม เสนอแนะแนวทางแก้ไขที่เป็นประโยชน์ ปัญหาสื่อมวลชนเสนอได้รับความสนใจและการแก้ไขจากสังคม เป็นการสร้างและสะท้อนประชามติ สื่อมวลชนนำมาใช้ในการพัฒนาด้านต่างๆ

 2. ความสำคัญต่อข่าวสาร เราใช้ข่าวสารในการสนทนา เป็นข้อมูลวางแผน ประกอบการตัดสินใจ เทคโนโลยีใหม่ทำให้การสื่อสารมวลชนกลายเป็นการสื่อสารโลก (global communication) ทำให้สังคมและโลกแคบลง เช่น - บริการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมสามารถเผยแพร่ข่าวสารไปทั่วโลก อย่าง CNN (Cable News Network) MTV (The music channel) - หนังสือพิมพ์ที่พิมพ์และจำหน่ายทั่วประเทศ ทั่วโลก - อินเทอร์เน็ต

3. ความสำคัญต่อวัฒนธรรม เป็นเครื่องมือถ่ายทอดเผยแพร่และรักษาวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีของภูมิภาคต่างๆ ในประเทศ และของประเทศต่างๆ ทำให้คนเข้าใจในวัฒนธรรมของกันและกัน ลดความขัดแย้ง ก่อให้เกิดการยอมรับวัฒนธรรมที่ดีงาม การสื่อสารมวลชนช่วยรักษา ส่งเสริมวัฒนธรรมที่ดีงามของตนและนำวัฒนธรรมใหม่ที่ดีงามเข้ามาสู่สังคม หรือทำลายวัฒนธรรมเดิมที่ดีงามและนำวัฒนธรรมใหม่ที่เป็นอันตรายมาสู่สังคม การเลียนแบบวัฒนธรรมต่างประเทศ

 4. ความสำคัญต่อความเป็นสากล สื่อสารมวลชนทำให้รับรู้ข่าวสารได้ทั่วโลก - สารกลายเป็นสารสากล ได้แก่ สารคดี ความคิดเห็น ความบันเทิง กีฬา - สื่อมวลชนกลายเป็นสื่อสากลที่สามารถนำสารไปได้ทั่วโลก โดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ - ผู้รับสารเป็นผู้รับสารทั้งโลก หรือมวลชนโลก (global mass) ความเป็นสากล ( globalization) ของสิ่งต่างๆ ในโลกเกิดได้เพราะพลังของการสื่อสารมวลชน และเทคโนโลยีทางการสื่อสาร

5. ความสำคัญต่อธุรกิจและอุตสาหกรรม การโฆษณา (Advertising) เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับสินค้า การประชาสัมพันธ์ (Public Relations) เผยแพร่และสร้างภาพ (image) ที่ดีของสินค้า และบริษัทผู้ผลิต เพื่อชักจูงใจให้ประชาชนบริโภคสินค้าของตน การสื่อสารมวลชนทำให้ผู้มีชื่อเสียงมีค่าทางการค้า ได้แก่ ดารา นักกีฬา นักการเมือง นักธุรกิจ ตัวการ์ตูน สถานที่ ฯลฯ

 6. ความสำคัญต่อการเมืองระหว่างประเทศ สื่อมวลชนเป็นเครื่องมือในการโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 สงครามเวียดนาม สงครามอ่าวเปอร์เชีย สื่อสารมวลชนช่วยปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างตะวันออก ตะวันตกสื่อมวลชนเป็นตัวกระตุ้นนโยบายการเปิดประเทศ (openness) การเปลี่ยนแปลงสหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา สถานีวิทยุเสียงอเมริกา (VOA : Voice of America) อังกฤษ สถานีวิทยุบีบีซี (BBC : British Broadcasting Corporation)

บทความพิเศษ มติชนสุดสัปดาห์ 19 พ . ค . 49 " หมากเตะ " ลาวตะลึง - ตึ่ง ตึง แกรมมี่ " มุขแป้ก " เก้ง " ไปไม่ถึง " บอลโลก " หนังฟอร์มแรงที่บริษัท จีทีเอช ธุรกิจผลิตภาพยนตร์ในค่ายจีเอ็มเอ็มแกรมมี่ ผลิตออกมาต้อนรับฟุตบอลโลกต้องล้มไม่เป็นท่า ... ประเด็นที่น่าคิดคือ ตัวเลขความสูญเสีย 60 ล้านบาทเป็นสัดส่วนที่น้อยนิดเมื่อเทียบกับมูลค่าการค้าระหว่างไทย - สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในแต่ละปีที่ตัวเลขล่าสุดในปี 2548 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 40,107.0 ล้านบาท และตัวเลขทางการค้าระหว่าง 2 ประเทศก็ยังเทียบกันไม่ได้กับคุณค่าของความสัมพันธ์ 2 ชาติที่อยู่ร่วมแผ่นดินสุวรรณภูมิมายาวนานในฐานะ " บ้านพี่เมืองน้อง " มีคนไทยจำนวนไม่น้อยแสดงความเห็นอกเห็นใจต่อ " ผู้ถูกกระทำ " อย่างเปิดเผยใน pantip . com



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น