วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2556

องค์ประกอบการสื่อสารมวลชน


การสื่อสารมวลชน เป็นกระบวนการสื่อสารที่มีความซับซ้อน แตกต่างไปจากกระบวน การของการสื่อสารระหว่างบุคคล และในสื่อมวลชนแต่ละชนิดก็มีลักษณะของสื่อ เนื้อหาสาระ และรูปแบบการดำเนินงานที่แตกต่างกัน องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกันของระบบการสื่อสารมวลชน โดยทั่วไป ได้แก่

1. องค์กรสื่อสารมวลชน
2. นักสื่อสารมวลชน
3. ข่าวสาร
4. สื่อ
5. ผู้รับสาร
6. ผลจากสื่อมวลชน
7. สถาบันควบคุมทางสังคม

1. องค์กรสื่อสารมวลชน คือหน่วยงานที่มีบทบาทหน้าที่เป็นผู้ส่งสาร (Source) ไปสู่มวลชน มีลักษณะเป็นองค์กรที่ซับซ้อน มีการจัดโครงสร้างที่เป็นระเบียบแบบแผนอย่างดี มีการลงทุนสูงในการผลิตข่าวสาร มีรายได้จากสปอนเซอร์ ได้แก่
1.1 องค์กรวิทยุกระจายเสียง องค์กรขนาดใหญ่ที่มีเครือข่ายการส่งกระจายเสียงไปทั่วโลก เช่น สถานีวิทยุ BBC (British Broadcasting Coporation ) สถานีวิทยุเสียงอเมริกา (Voice Of America )
1.2 องค์กรหนังสือพิมพ์ ส่วนใหญ่ดำเนินกิจการโดยภาคเอกชน หนังสือพิมพ์ขนาดใหญ่ทั่วไปมีกิจการแบบครบวงจร
1.3 องค์กรโทรทัศน์ ไทยมีสถานีโทรทัศน์ที่รับชมฟรี (Free TV) 6 สถานี ได้แก่ ช่อง 3 ช่อง 5 ช่อง 7 ช่อง 9 ช่อง 11 ITV ( ช่อง 26) และมีสถานีเครือข่ายของกรมประชาสัมพันธ์ กระจายทั่วทุกภูมิภาค โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมหรือเคเบิลทีวี รับชมโดยต้องจ่ายเงิน เช่น U BC องค์กรสื่อมวลชนมีสถานที่ทำการ นักสื่อสารมวลชน เครื่องมือการผลิต และส่งข่าวสาร ทำหน้าที่แสวงหาข่าวสาร รวบรวม คัดเลือก ผลิต และส่งกระจาย ข่าวสาร องค์กรสื่อสารมวลชน จึงเป็นทั้งผู้รับข่าวสาร และผู้ส่งข่าวสารหมุนเวียนอยู่ตลอดไป ซึ่งข่าวสารต่างๆ เหล่านั้น ส่วนหนึ่งได้รับมาจากแหล่งข่าวทั้งในประเทศและต่างประเทศ
แหล่งข่าวที่สำคัญ เช่น สำนักข่าวไทย (Thai News Agency -T.N.A ) AP (Assoociated Press ) ของอเมริกา AFP (Agence France Press) ของฝรั่งเศส Reuters ของประเทศอังกฤษ TASS (Telegrafnoie Agenstvo Sovetskavo Soiuza ของรัสเซีย UPI ( United Press International ) ของอเมริกา CNN (Cable News Network) Visnews (Vision News ) เป็นบริษัทระหว่างชาติ Hsin Hua หรือ New Chaina ของจีน

2. นักสื่อสารมวลชน คือบุคลากรภายในองค์กรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องโดยตรงกับข่าวสารต่างๆ เช่น ผู้สื่อข่าว นักเขียน บรรณาธิการ ผู้แปล โฆษณานักจัดรายการ พิธีกร ฯลฯ รวมเรียกว่า เป็นกลุ่มของผู้ส่งสาร ซึ่งเป็นกลุ่มของผู้ที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน ร่วมกันส่งข่าวสาร ในฐานะที่เป็นสมาชิกขององค์กรสื่อมวลชน มีคุณสมบัติ ทักษะในการสื่อสาร เจตคติที่ดีใน 3 ด้าน ระดับความรู้เพียงพอ ความเข้าใจในบุคคล ระบบสังคม และวัฒนธรรม บุคลิกภาพ

องค์ประกอบการสื่อสารมวลชน นักสื่อสารมวลชนมีคุณสมบัติ
1. ทักษะในการสื่อสาร ( การฟัง การพูด การอ่าน การเขียน และการคิดหรือการใช้เหตุผล )
2. เจตคติที่ดีใน 3 ด้าน ( ต่อตนเอง ต่อข่าวสาร ต่อผู้รับข่าวสาร )
3. ระดับความรู้เพียงพอ
4. ความเข้าใจในบุคคล ระบบสังคม และวัฒนธรรม 5. บุคลิกภาพ

3. ข่าวสาร หมายถึง เรื่องราว เนื้อหา สาระ หรือสาร ( Message) ที่ถูกถ่ายทอดผ่านทางสื่อมวลชน ( Mass Media) สารนี้ มีลักษณะเป็นสาธารณะ (Public) เป็นประโยชน์ต่อผู้รับสารในวงกว้าง สารเป็นที่เข้าใจและจะต้องได้รับการออกแบบให้มีคุณภาพดี ถูกต้อง ชัดเจน ปกติเป็นการสื่อสารแบบทางเดียว ผู้รับไม่มีโอกาสตอบโต้ หรือซักถาม ความผิดพลาดเพียงเล็กน้อยอาจส่งผลกระทบได้
องค์ประกอบการสื่อสารมวลชน ประเภทของข่าวสาร จำแนกตามบทบาทหน้าที่สื่อสารมวลชนได้ดังนี้
3.1 รายงานเหตุการณ์ หรือ ข่าว
3.2 บทวิเคราะห์ แสดงความคิดเห็น เช่น บทความ บทบรรณาธิการ
3.3 สาระความรู้ทั่วไป และความรู้ทางวิชาการเฉพาะสาขา เช่น บทความวิชาการ
3.4 สังคมและบันเทิง เช่น การ์ตูน สารคดี ละคร ภาพยนตร์ เกมโชว์ เพลง
3.5 โฆษณาประชาสัมพันธ์ เช่น ประกาศแจ้งความ ประกาศของทางราชการ โฆษณาสินค้า ข่าวธุรกิจ

4. สื่อ หมายถึง หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร หนังสือ ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ ซึ่งมีคุณสมบัติทางกายภาพที่สำคัญ คือ
4.1 ความสามารถในการเก็บบันทึกเหตุการณ์ ความรู้ ความคิด ไว้ในรูปแบบที่สัมผัสได้ เช่น รูปภาพ เสียง การเคลื่อนไหว สัญลักษณ์
4.2 ดัดแปลงปรุงแต่งให้ผู้รับเข้าใจได้ง่ายขึ้น หรือน่าสนใจ เช่น การตัดต่อภาพ เสียงประกอบ
4.3 การทำสำเนา ขยาย จำหน่ายจ่ายแจก ส่งกระจายข่าวสารจำนวนมาก ไปยังผู้รับจำนวนมากพร้อมๆ กัน

5. ผู้รับสาร มวลชนหรือกลุ่มคนจำนวนมาก หลากหลาย ไม่รู้จักกัน จำแนกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ และความสนใจได้ดังนี้
5.1 จำแนกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์
5.1.1 อายุ
5.1.2 เพศ
5.1.3 การศึกษา
5.1.4 ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม
5.1.5 ถิ่นที่อยู่
5.2 จำแนกตามกลุ่มเป้าหมาย จำแนกเป็น 2 ประเภท คือ
5.2.1 ผู้รับทั่วไป (General Audience) เป็นผู้รับที่แต่ละคนมีลักษณะแตกต่างกันมาก ทั้งทางประชากรศาสตร์ ความสนใจ ความเชื่อ ค่านิยม ฯลฯ คาดคะเนจำนวนไม่ได้ การเลือกรับข่าวสารไม่แน่นอน พฤติกรรมการรับสารของผู้รับสาร แบ่งเป็น 4 ประเภท - บริโภคสื่อมวลชนทั้งหมด ทุกสื่อ - เลือกบริโภคข่าวสารจากสื่อใดสื่อหนึ่ง - เลือกบริโภคข่าวสารเฉพาะเรื่องที่ตนสนใจจากทุกสื่อ - พวกหลีกเลี่ยงการเปิดรับสื่อ
5.2.2 ผู้รับที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย (Target Audience) เป็นกลุ่มผู้รับที่มีจำนวนหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มมีลักษณะบางอย่าง หรือหลายอย่างที่เหมือนกัน เช่น เหมือนกันโดยลักษณะทางประชากรศาสตร์ หรือมีความสนใจในข่าวสารร่วมกัน การที่มีความสนใจเหมือนกัน แม้จะอยู่อย่างกระจัดกระจายไม่รู้จักกัน แต่บุคคลเหล่านี้ก็เป็นสมาชิกของกลุ่มผู้รับข่าวสารประเภทเดียวกัน เช่น กลุ่มผู้สนใจข่าวการเมือง กลุ่มผู้อ่านหนังสือพิมพ์มติชน เป็นต้น การแสดงความคิดเห็น หรือปฏิกิริยาตอบสนองของผู้รับข่าวสารกลุ่มนี้ จะได้รับการยอมรับพิจารณาจากองค์กรสื่อมวลชน และสาธารณชน

6. ผลจากสื่อมวลชน หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลังการได้รับข่าวสารจากสื่อมวลชน ทั้งผลต่อบุคคล และสังคม ผลระยะสั้นและระยะยาว ผลทางตรงและผลทางอ้อม ซึ่งผลดังกล่าวอาจเกิดขึ้นโดยเจตนา หรือไม่เจตนาของสื่อมวลชนผู้ส่งข่าวสารก็ได้ ผลกระทบต่อบุคคล ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงระดับความรู้ ความเชื่อ เจตคติ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสังคมด้วย
1. ผลระยะสั้น เป็นการเปลี่ยนแปลงความรู้สึก และอารมณ์ เป็นผลที่เกิดขึ้นขณะที่ได้รับ หรือภายหลังที่ได้รับข่าวสารไประยะหนึ่ง เช่น เกิดความพอใจ ไม่พอใจ เกิดความเชื่อ ยอมรับความคิด เป็นต้น
2. ผลระยะยาว เป็นการเปลี่ยนแปลงความคิด ค่านิยม มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ซึ่งเป็นสิ่งที่ส่งผลสังคม การศึกษา และการพัฒนาสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้รับข่าวสาร เช่น คนไปเลือกตั้งเพราะฟังข่าวโทรทัศน์

7. สถาบันควบคุมทางสังคม
7.1 รัฐบาล ซึ่งมีภาระหน้าที่ในการจัดระเบียบของสังคมต้องควบคุมดูแลสื่อมวลชน โดยการออกระเบียบกฎหมายควบคุมเกี่ยวกับ คุณสมบัติ เงื่อนไขวิธีการดำเนินกิจการ ของสื่อมวลชนแต่ละประเภท
7.2 ประชาชน สื่อมวลชนที่ประชาชนให้การยอมรับ หรือติดตาม ทำให้อยู่ได้ ประชาชนเป็นพลังเงียบที่มีอำนาจต่อรองสูง
7.3 ธุรกิจโฆษณา สื่อมวลชนที่มีผู้ซื้อเวลาโฆษณามาก ย่อมมีรายได้สูงและสามารถพัฒนาตนเองได้

ที่มา : www.slideshare.net/cocosakkayaset/1-8508993

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น